การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ ที่ระบายออกจากโรงงานมีการเปลี่ยนแปลงโดยประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2558 (MOI-0427) ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 โดยยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2550 และปรับปรุงเพิ่มเติมรายละเอียดให้ชัดเจนและยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นกับโรงงานที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้สรุปในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การเปลี่ยนแปลงการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2558 (MOI-0427) | การเปลี่ยนแปลงจากประกาศ
พ.ศ. 2550 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2550 (MOI-0279) |
ข้อ 5 ประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน ดังนี้
5.1 ประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศกำหนด 5.2 ประเภทหรือชนิดของโรงงานตามบัญชีท้ายประกาศนี้ |
ปรับปรุง:
ประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานฯ (ดูตารางที่ 2)
|
ข้อ 2 ให้โรงงานที่มีมลพิษน้ำและอากาศต้องจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดย
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
ข้อ 6 วิธีการได้มาของข้อมูลการจัดทำรายงาน
6.1 กลุ่ม “M” (Measurement) เป็นชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ได้มาจากตรวจวัดวิเคราะห์โดยให้ใช้วิธีการตามมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
6.2 กลุ่ม “C” (Calculation) เป็นชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ได้จากการคำนวณโดยให้ใช้วิธีการคำนวณที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ (ก) ใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยสารมลพิษ (Emission Factor) ของสารมลพิษชนิดนั้น ๆ หรือ (ข) ใช้การคำนวณทางวิศวกรรม (Engineering Calculation) หรือ (ค) ใช้สมดุลมวล (Mass Balance) |
ข้อ 3 วิธีการได้มาของข้อมูลการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่รายงานตามแบบรายงาน ให้ระบุวิธีการได้มาของ
แหล่งข้อมูลเหล่านั้นซึ่งกำหนดให้ใช้ 2 กลุ่ม ได้แก่ 3.1 กลุ่ม “M” (Measurement) เป็นชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ได้มาจากตรวจวัดวิเคราะห์โดยให้ใช้วิธีการตามมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับ การวิเคราะห์ตัวอย่างให้ดำเนินการดังนี้ 3.1.1 ตัวอย่างน้ำเสียและน้ำทิ้ง ให้ใช้วิธีการตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 3.1.2 ตัวอย่างอากาศเสีย ให้ใช้วิธีการตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549 หรือประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่กำหนดเป็นมาตรฐานเฉพาะประเภทโรงงานนั้น ๆ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 3.2 กลุ่ม “C” (Calculation) เป็นชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ได้จากการคำนวณโดยใช้วิธีการคำนวณที่ยอมรับในระดับสากล เช่น (ก) ใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยสารมลพิษ (Emission Factors) ของสารมลพิษชนิดนั้น ๆ (ข) ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้คำนวณการปล่อยสารมลพิษ หรือใช้การคำนวณที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น ๆ เป็นต้น |
|
ข้อ 7 การเก็บตัวอย่างน้ำให้เก็บตัวอย่างน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง ดังนี้
7.1 น้ำเสียก่อนเข้าระบบบำบัดน้ำเสียอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง 7.2 น้ำเสียหรือน้ำทิ้งออกจากระบบบำบัดน้ำเสียอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง 7.3 น้ำทิ้งระบายออกนอกโรงงานอย่างน้อยหนึ่งเดือนต่อครั้ง 7.4 น้ำเสียที่ส่งบำบัดภายนอกโรงงานให้เก็บตัวอย่างน้ำในบ่อสุดท้ายอย่างน้อยหนึ่งเดือนต่อครั้ง 7.5 กรณีไม่มีการระบายออกนอกโรงงานให้เก็บตัวอย่างน้ำในบ่อสุดท้ายอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง |
ปรับปรุง:
– ความถี่จาก”อย่างน้อยเดือนละครั้ง “ เป็น “อย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง” ยกเว้น น้ำเสียที่ส่งบำบัดภายนอกโรงงานให้เก็บตัวอย่างน้ำในบ่อสุดท้ายอย่างน้อยหนึ่งเดือนต่อครั้ง เพิ่มเติม: 7.2 น้ำเสียหรือน้ำทิ้งออกจากระบบบำบัดน้ำเสียอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง
|
ข้อ 4 ความถี่ จุดที่เก็บตัวอย่าง และค่าพารามิเตอร์
ในกรณีที่เป็นชนิดและปริมาณสารมลพิษจากการตรวจวัดวิเคราะห์ (กลุ่ม “M”) ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ 4.1 ตัวอย่างน้ำ ให้เก็บตัวอย่างน้ำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง ดังนี้ 4.1.2 โรงงานที่ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียให้เก็บตัวอย่างน้ำเสียก่อนเข้าระบบและน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงาน 4.1.3 ในกรณีที่ไม่มีการระบายน้ำทิ้งออกนอกโรงงานให้เก็บตัวอย่างน้ำในบ่อสุดท้ายของระบบบำบัดแทนตัวอย่างน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงาน 4.1.4 กรณีที่นำน้ำเสียไปบำบัดในโรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (โรงงานลำดับที่ 101) ให้ตรวจสอบตัวอย่างน้ำเสียที่ส่งไปบำบัดที่โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวมแทนตัวอย่างน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงาน |
ข้อ 8 การเก็บตัวอย่างอากาศให้เก็บตัวอย่างอากาศที่ระบายออกจากปล่องระบายอากาศของโรงงานอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
|
ปรับปรุง:
แก้ไขคำแต่ความหมายไม่เปลี่ยนแปลง: อากาศที่ระบายออกจากโรงงาน” หมายความว่า อากาศที่ระบายออกจากปล่องหรือช่องหรือท่อระบายอากาศของโรงงานไม่ว่าจะผ่านระบบบำบัดหรือไม่ก็ตาม –โดยประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549 |
4.2 ตัวอย่างอากาศ ให้เก็บตัวอย่างอากาศ อย่างน้อย 6 เดือน ต่อครั้ง ดังนี้
4.2.2 ให้เก็บตัวอย่างอากาศที่ระบายออกจากปล่องหรือช่องหรือท่อระบายอากาศของโรงงาน 4.2.3 กรณีรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมกำหนดเป็นอย่างอื่นให้ปฏิบัติตามที่กำหนด สำหรับชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ได้จากการคำนวณ (กลุ่ม “C”) ให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ได้จากการตรวจวัดวิเคราะห์ข้างต้น |
ข้อ 9 การรายงานมลพิษน้ำให้ใช้วิธีการได้มาของข้อมูลการจัดทำรายงานตามข้อ 6.1 โดยต้องมีพารามิเตอร์ ดังนี้
9.1 บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) ความเป็นกรดและด่าง (pH) และสารแขวนลอย (Suspended Solids) 9.2 โลหะหนัก ตามคุณลักษณะน้ำเสียจากโรงงานประเภทที่มีโลหะหนักเจือปน 9.3 พารามิเตอร์อื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
|
เพิ่มเติม:
ค่าพารามิเตอร์- โลหะหนัก ตามคุณลักษณะน้ำเสียจากโรงงานประเภทที่มีโลหะหนักเจือปน |
4.1.1 ค่าพารามิเตอร์อย่างน้อยให้ตรวจวัด BOD5 COD pH และ SS
ส่วนค่าพารามิเตอร์อื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
|
ข้อ 10 การรายงานมลพิษอากาศให้ใช้วิธีการได้มาของข้อมูลการจัดทำรายงานตามข้อ 6.1 หรือข้อ 6.2 โดยต้องมีพารามิเตอร์ ดังนี้
10.1 กระบวนการเผาไหม้ที่ใช้ของเหลวหรือของแข็งเป็นเชื้อเพลิงให้รายงานอย่างน้อยค่าออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์ (Oxide of Nitrogen as NO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) และฝุ่นละออง (Total Suspended Particulate) |
ปรับปรุงและเพิ่มเติม:
กระบวนการเผาไหม้ที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ และค่าพารามิเตอร์ใหม่ |
4.2.1 โรงงานที่ใช้- ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงค่าพารามิเตอร์อย่างน้อยให้ตรวจวัด NOx และ
– สำหรับโรงงานที่ใช้เชื้อเพลิงอื่น ๆ ค่าพารามิเตอร์อย่างน้อยให้ตรวจวัด SO2 NOx และ TSP – สำหรับค่าพารามิเตอร์อื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
|
10.2 กระบวนการเผาไหม้ที่ใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงให้รายงานอย่างน้อย ค่าออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์ (Oxide of Nitrogen as NO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide)
10.3 กระบวนการเผาไหม้ที่ใช้ก๊าซอื่นที่ไม่ใช่ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงให้รายงานอย่างน้อยค่าออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์ (Oxide of Nitrogen as NO2) และ คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) 10.4 กระบวนการผลิตหรือกระบวนการอื่นใดให้รายงานพารามิเตอร์ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
||
ข้อ 11 ประเภทหรือชนิดของโรงงานตามข้อ 5 ที่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ดำเนินการเพิ่มเติมตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย | 5.1 ชนิดและปริมาณสารมลพิษที่แต่ละโรงงานต้องรายงาน ให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
กรณีที่เป็นโรงงานประเภทที่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือตามที่กำหนดไว้ในแบบ รว. 2 และ รว. 3 แนบท้ายประกาศนี้ |
|
ข้อ 12 การตรวจวัดชนิดและปริมาณสารมลพิษต้องทำการตรวจวัดโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของทางราชการ หรือห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม | เพิ่มเติม: | |
ข้อ 13 การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษให้ดำเนินการ ดังนี้
13.1 จัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษตามแบบที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา 13.2 ส่งรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้รายงานข้อมูลรอบที่ 1 ของเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนภายในวันที่ 1 กันยายนของปีที่รายงาน และให้รายงานข้อมูลรอบที่ 2 ของเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมภายในวันที่ 1 มีนาคมของปีถัดไป 13.3 เก็บรักษารายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษไว้ที่โรงงาน 1 ชุด เป็นระยะเวลา 3 ปี และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ 13.4 -โรงงานตามข้อ 5.1 ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือผู้รับมอบอำนาจและผู้ควบคุม ดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เป็นผู้ลงนามรับรองในแบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ – สำหรับโรงงานตามข้อ 5.2 ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือผู้รับมอบอำนาจ เป็นผู้ลงนามรับรองในแบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ |
ปรับปรุง:
1. จัดทำรายงานฯ ตามแบบที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด (ไม่ระบุว่าใช้แบบ รว. 1 รว. 2 และ รว. 3) 2. การส่งรายงานข้อมูล – รอบที่ 1 ของเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนภายในวันที่ 1 กันยายนของปีที่รายงาน และให้รายงานข้อมูล – รอบที่ 2 ของเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมภายในวันที่ 1 มีนาคมของปีถัดไป 3.ระบุผู้ ลงนามรับรองในแบบรายงานตามประเภทโรงงาน |
ข้อ 5 การทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษให้ดำเนินการดังนี้
5.1 ชนิดและปริมาณสารมลพิษที่แต่ละโรงงานต้องรายงาน ให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมกรณีที่เป็นโรงงานประเภทที่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือตามที่กำหนดไว้ในแบบ รว. 2 และ รว. 3 แนบท้ายประกาศนี้ 5.2 แบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษและตารางผลวิเคราะห์ให้ใช้แบบ รว. 1 รว. 2 และ รว. 3 แนบท้ายประกาศนี้ตามแต่กรณี 5.3 แบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษและตารางผลวิเคราะห์ทุกฉบับที่ส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม ต้องให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือบุคคลที่มีอำนาจทำนิติกรรมแทนรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน และเก็บรักษาไว้ที่โรงงาน 1 ชุด พร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมตรวจสอบได้ทุกเวลาและจัดส่งรายงานในรอบ 6 เดือน ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมภายในวันที่ 30 ของเดือนถัดไป โดยสามารถส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด |
ประเภทหรือชนิดของโรงงาน ที่ต้องจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน ได้แก่
- ประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศกำหนด ซึ่งกฎหมายฉบับปัจจุบันที่ใช้อ้างอิงคือ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 (MOI-0315)
- ประเภทหรือชนิดของโรงงานตามบัญชีท้ายประกาศนี้
สำหรับโรงงานที่ต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน doforgreen ได้ระบุชนิดของรายงานตามประเภทของบุคลากร ยกเว้นโรงงานที่กำหนดให้มีผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมจะไม่ระบุชนิดของรายงาน
ตารางที่ 2 สรุปประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน
No. | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2558 (MOI-0427) | ปก.อก. เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 (MOI-0315) | รายงานมลพิษน้ำ | รายงานมลพิษอากาศ | หมายเหตุ |
1 | โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำกระดาษ
กระดาษแข็งหรือกระดาษที่ใช้ในการก่อสร้าง ชนิดที่ทำจากเส้นใยหรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์ ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป |
✓ | ✓ | ||
2 | โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเหล็กหรือเหล็กกล้า
ที่มีกำลังการผลิตแต่ละชนิดหรือรวมกันตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป ดังนี้ 1) เหล็กขั้นต้นหรือเหล็กขั้นกลาง ที่มีการถลุง หลอม หล่อ 2) เหล็กขั้นปลาย ได้แก่ ที่มี 2.1) การรีดเหล็ก (Rolling) ทั้งการรีดร้อนและ รีดเย็น ยกเว้นการรีดขึ้นรูปเย็น (Cold roll forming) และการรีดปรับสภาพผิว (Skin – pass หรือ Temper rolling) 2.2) การทุบขึ้นรูปร้อน (Hot forging) 2.3) การเคลือบผิว (ทั้งกรรมวิธีจุ่มด้วยโลหะ หลอมเหลว กรรมวิธีทางไฟฟ้า กรรมวิธีทางเคมี กรรมวิธีทางไฟฟ้าเคมี) 2.4) การหล่อเหล็กรูปพรรณ (Ferrous metal foundries) |
12. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเหล็กหรือเหล็กกล้า ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป | ✓ | ✓ | |
3 | โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตแก้ว
เส้นใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์แก้ว ที่มีเตาหลอม |
✓ | |||
4 | โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ เฉพาะ
1) โรงงานที่มีหม้อน้ำเดี่ยวที่มีกำลังการผลิตไอน้ำ ตั้งแต่ 10 ตันไอน้ำต่อชั่วโมงขึ้นไป กรณีใช้ของเหลว หรือของแข็งเป็นเชื้อเพลิง 2) โรงงานที่มีหม้อน้ำเดี่ยวที่มีกำลังการผลิตไอน้ำ ตั้งแต่ 20 ตันไอน้ำต่อชั่วโมงขึ้นไป กรณีใช้ก๊าซ เป็นเชื้อเพลิง |
✓ | |||
5 | โรงงานที่มีหรือใช้สารอินทรีย์ระเหย (VOCs)
ในกระบวนการผลิตตั้งแต่ 36 ตันต่อปี ขึ้นไป |
✓ | |||
1.โรงงานที่มีน้ำเสียปนเปื้อนสารอินทรีย์
โรงงานที่มีปริมาณน้ำเสียก่อนเข้าระบบบำบัดตั้งแต่ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป(ยกเว้นน้ำหล่อเย็น) หรือโรงงานที่มีปริมาณความสกปรกในรูปบีโอดีก่อนเข้าระบบบำบัด (BOD Load of Influent) ตั้งแต่ 100 กิโลกรัมต่อวันขึ้นไป |
✓ | ||||
2. โรงงานที่ใช้สารหรือองค์ประกอบของสารดังต่อไปนี้ในกระบวนการผลิตที่มีน้ำเสียก่อนเข้าระบบบำบัด ตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป
2.1 สังกะสี (Zinc) 2.2 แคดเมียม (Cadmium) 2.3 ไซยาไนด์ (Cyanide) 2.4 ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ (Organic Phosphorus Compounds) 2.5 ตะกั่ว (Lead) 2.6 ทองแดง (Copper) 2.7 บาเรียม (Barium) 2.8 เซเลเนียม (Selenium) 2.9 นิเกิล (Nickel) 2.10 แมงกานีส (Manganese) 2.11 โครเมียม วาเลนซี 6 (Hexavalent Chromium) 2.12 อาร์ซินิคและสารประกอบอาร์ซินิค (Arsenic and its Compounds) 2.13 ปรอทและสารประกอบปรอท (Mercury and its Compounds) |
✓ | ||||
ในกรณีมีการประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับการชุบโลหะ | ✓ | ✓ | |||
3.1 ผลิตน้ำตาลทรายดิบ หรือน้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลทรายขาวให้บริสุทธิ์ ทุกขนาด
3.2 ผลิตน้ำตาลกลูโคส เดกซ์โทรส ฟรักโทสหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน ที่มีกำลังการผลิต ตั้งแต่ 20 ตันต่อวันขึ้นไป |
✓ | ✓ | |||
4.1 ผลิตสุรา แอลกอฮอล์ ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 40,000 ลิตรต่อเดือน (คิดเทียบที่ 24 ดีกรี)
4.2 ผลิตไวน์ ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 600,000 ลิตรต่อเดือน 4.3 ผลิตเบียร์ ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 600,000 ลิตรต่อเดือน |
✓ | ✓ | |||
5. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตเยื่อจากไม้หรือวัสดุอื่น ที่มีกำลังการผลิต ตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป | ✓ | ✓ | |||
6. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับปิโตรเคมีที่มีกระบวนการผลิตทางเคมี และมีกำลังการผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป | ✓ | ✓ | |||
7. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตคลอ – แอลคาไลน์ที่ใช้โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เป็นวัตถุดิบในการผลิตโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) กรดไฮโดรคลอริก (HCl) คลอรีน (Cl2) โซเดียมไฮโพคลอไรด์ (NaOCl) และปูนคลอรีน (Bleaching Powder) ที่มีกำลังการผลิตสารแต่ละชนิดหรือรวมกันตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป | ✓ | ✓ | |||
8. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตสารออกฤทธิ์หรือสารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์โดยใช้กระบวนการเคมี ทุกขนาดหรือประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยเคมีโดยใช้กระบวนการเคมี ทุกขนาด | ✓ | ✓ | |||
9. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ พลาสติก หรือเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งมิใช่ใยแก้ว ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป | ✓ | ✓ | |||
10. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ทุกขนาด | ✓ | ✓ | |||
11. โรงงานประกอบกิจการผลิตปูนซีเมนต์ทุกขนาด | ✓ | ✓ | |||
13. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุงหรือหลอมโลหะ ซึ่งไม่ใช่อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป | ✓ | ✓ | |||
14. โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป | ✓ | ||||
15. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการแยกหรือแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ ทุกขนาด | ✓ | ||||
16.โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม ดังต่อไป
16.1 ระบบบำบัดน้ำเสียรวม ทุกขนาด |
✓ |
|
|
||
16.2 การเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานทุกขนาด | ✓ | ||||
16.3 การปรับสภาพสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่เป็นอันตราย ทุกขนาด | ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม | ||||
17. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
17.1 การคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่เป็นอันตราย ทุกขนาด |
|
|
ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม |
||
17.2 การฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทุกขนาด | ✓ | ||||
18. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม ทุกขนาด
ในกรณีมีการประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับการรีไซเคิลตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า |
ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม | ||||
✓ | ✓ |