การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification) เป็นเครื่องมือและวิธีการใหม่ที่มีผลโดยตรงต่อวงการป่าไม้ทั่วโลก โดยการใช้การตลาดเป็นข้อกำหนดในการจูงใจให้ปรับปรุงวิธีการจัดการป่าไม้ โดยวิธีการที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการชักจูงให้กระทำตามโดยมิใช่บังคับโดยกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆอย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต และประการสำคัญวิธีการนี้สามารถช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ (Stake holders) หันหน้าเข้าหากันเพื่อที่จะเดินไปตามหลักการของการพัฒนาแบบยั่งยืน
การรับรองป่าไม้ (Forest Certification) ได้มีการพัฒนาต่อจากการประชุม UNCED (United Nation Conference on Environment and Development) ที่เมือง Rio de Janeiro, ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 3 – 14 มิถุนายน ปี 1992 ซึ่งมีข้อสรุปร่วมกันที่จะให้ความสนใจ 3 ประการหลัก คือ
1. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological Diversity)
2. การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ (Climate Change)
3. การต่อสู้กับการขยายตัวของทะเลทราย (Combat Desertification)
และได้มีการกำหนดหลักการป่าไม้ขึ้นมา (Forest Principles) สำหรับเป็นหลักในการนำไปปฏิบัติทั่วโลก และจากการประชุมการป่าไม้ของทวีปยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ในปี 1993 ได้มีการกำหนดเรื่องหลักเกณฑ์การจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนขึ้นมา โดยจะต้องมีการดำเนินการอย่างมีมาตรฐาน และในการนำสินค้าออกจากป่าก็ควรจะต้องดำเนินการในลักษณะการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน รวมทั้งมีแนวความคิด เรื่องการติดฉลากรับรองสินค้าจากไม้ (Labeling) และในปี 2000 ประเทศสมาชิกของ ITTO (International Tropical Timber Organization) ได้มีการตกลงกันว่าให้ประเทศสมาชิกเสนอแนวทางในการดำเนินการกำหนดหลักการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน เพื่อจะได้ใช้ในการปฏิบัติการต่อไป
จากมุมมองความต้องการที่จะจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (Sustainable Forest Management) ได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทำให้องค์กรเอกชนต่างๆ ที่ไม่สามารถไปบอกกล่าวให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ดำเนินการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน ได้รวมตัวกันชักชวนให้ผู้บริโภค เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษที่มาจากป่าไม้ที่มีการจัดการแบบยั่งยืน ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้ผลิตเริ่มหันมาสนใจต่อทรัพยากรมากขึ้น จึงได้เกิดมิติใหม่ในวงการป่าไม้ของโลก คือ การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification) เพื่อป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้ทั่วโลก
Forest Stewardship Council (FSC)
เพื่อขจัดความสับสนในหมู่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และหาข้อยุติเรื่อง Forest Certification จึงได้เกิดมีการรวมตัวกันระหว่างตัวแทนองค์กร สิ่งแวดล้อม นักวิชาการป่าไม้ ผู้ค้าไม้ องค์กรชุมชนท้องถิ่น สมาคมป่าชุมชน และสถาบันรับประกันผลผลิตป่าไม้ ร่วมกันจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า Forest Stewardship Council หรือ FSC ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนการจัดการป่าไม้ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งผลตอบแทนที่ดีต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม (Environment, Economic and Social) โดยเน้นถึงการจัดการป่าไม้ที่ดีและมีเป้าหมายที่จะประเมินและมีการแต่งตั้งผู้นำการรับรอง (Certifier) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามาตรฐานระดับชาติ (National Standard) สำหรับการจัดการป่าไม้ โดยการจัดการให้การศึกษาและฝึกอบรม FSC ได้ประชุมกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้จัดการป่าไม้ที่ เมืองวอชิงตันดีซี ในเดือนมีนาคม ปี 1992 ซึ่งทำให้เกิดการแต่งตั้งคณะกรรมการชั่วคราว (Interim Board) ขึ้นมาเพื่อดำเนินการปรึกษาหารือและพัฒนาหลักการและมาตรฐาน (Principles and Criteria) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการรับรอง (Certification)
ต่อมาได้มีการประชุมเพื่อร่วมก่อตั้งองค์กรขึ้นที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนตุลาคม ปี 1993 ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมประชุม 130 คน จาก 25 ประเทศ และได้มีการลงมติให้ FSC เป็นองค์กรที่มีสมาชิกและเลือกคณะกรรมการบริหารขึ้นมา โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Oaxaca ประเทศเม็กซิโก
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งองค์กร
เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีระบบการจัดการป่าไม้ เพื่อการค้าทั่วโลกให้เหมาะสมมีแนวทางครอบคลุม 3 ประการหลัก คือ การจัดการป่าไม้ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม มีการใช้ทรัพยากรป่าไม้ที่คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของป่า และมีความสมดุลทางระบบนิเวศน์ การจัดการป่าไม้เพื่อสังคม เป็นการช่วยเหลือชุมชนในท้องถิ่นให้ได้รับผลประโยชน์จากป่าไม้ในระยะยาว และการจัดการป่าไม้ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คุ้มค่า
ประโยชน์ของ FSC
1. การสร้างโอกาสด้านการค้าและการส่งออกผลผลิตไม้และสินค้าที่ทำจากไม้จากป่าเขตร้อนไปยังประเทศต่างๆที่มีข้อจำกัด
และกรอบที่สำคัญเกี่ยวกับ Forest Certification
2. เป็นเครื่องมือและหลักประกัน ด้านการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนการสร้างรายได้ให้ชุมชนชาวชนบทและการรักษาสภาพแวดล้อม ให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี
3. เป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาและเป็นแนวทาง ในการสร้างความเข้าใจและลดแรงกดดันที่เกิดจาก กลุ่มอนุรักษ์, องค์เอกชนและราษฎรในท้องถิ่น
เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานด้านการปลูกสร้างสวนป่าและการจัดการป่าไม้
4. สามารถเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนและสร้างความเชื่อมั่นให้ได้รับสนับสนุนด้านการเงินและการลงทุนในอนาคต จากกระบวนการจัดการที่ยั่งยืน
5. การจัดการป่าไม้ตามแนวทางของ FSC จะช่วยส่งเสริมในด้านการเพิ่มพูนความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological Diversity)
ความหลากหลายในชั้นอายุของต้นไม้ ( Heterogeneous Stands ) และสนับสนุนการปลูกไม้ประจำถิ่น ( Endemic Species )
6. การจัดการตามแนวทางของ FSC จะสอดคล้องกับบทกำหนดหรืออนุสัญญาของ ITTO, CITES และ ILO เป็นต้น
7. FSC ช่วยสร้างความมั่นใจและสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากไม้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ไม้จาก ป่าเขตร้อน เพื่อทดแทน
การใช้วัสดุอย่างอื่นเช่น เหล็ก, อะลูมิเนียม และ PVC เป็นต้น
8. การจัดการป่าไม้ตาม FSC จะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้และช่วยลดผลกระทบต่อบริเวณป่าธรรมชาติที่อยู่ใกล้เคียงในระดับหนึ่ง
9. การจัดการตามแบบ FSC สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการจัดการ, การควบคุมและติดตามประเมินผลในการบริหารจัดการป่าไม้ขององค์กร
10. การจัดการป่าไม้ตามแนวทางของ FSC สามารถนำมาใช้เป็นแม่แบบในการศึกษา, ฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการป่าไม้, สัตว์ป่า,
สิ่งแวดล้อมและชุมชนชนบท
หลักการ 10 หลักการของ FSC
Principle 1: Compliance with Laws
Principle 2: Workers’ Rights and Employment Conditions
Principle 3: Indigenous Peoples’ Rights
Principle 4: Community Relations
Principle 5: Benefits from the Forest
Principle 6: Environmental Values and Impacts
Principle 7: Management Planning
Principle 8: Monitoring and Assessment
Principle 9: High Conservation Values
Principle 10: Implementation of Management Activities
ขั้นตอนการขอการรับรอง
1. การยื่นใบคำขอการรับรองต่อ Certification Body http://www.accreditation-services.com/archives/standards/fsc
2. ตรวจประเมินเพื่อขอการรับรอง
3. ตรวจประเมินเพื่อทวนสอบความสอดคล้องข้อกำหนด FSC รายปีทุกปีหลังได้รับการรับรอง (Certificate มีอายุ 5 ปี)
ใบรับรองและฉลาก FSC
ใบรับรอง หรือโลโก้FSC สามารถรับประกันได้ว่าเป็น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติ หรือแหล่งปลูกที่มีการจัดการป่าไม้อย่างถูกต้องตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ไม่ได้มาจากการทำลายป่าธรรมชาติ